6 ข้อดี Solar Rooftop ติดตั้งเองได้อย่างไร ช่วยประหยัดไฟได้เท่าไหร่

Solar Rooftop

Solar Rooftop ได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากกระแสของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทำให้คนหันมาใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานสีเขียว และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมากทำให้ Solar Rooftopมีราคาไม่แพง และมีขั้นตอนการติดตั้งไม่ยุ่งยาก ลองมาดูกันว่า Solar Rooftopนี้เป็นอย่างไร มีกี่ประเภท มีข้อดีอย่างไร และช่วยประหยัดค่าไฟได้เท่าไหร่

Solar Rooftop

Solar Rooftop คืออะไร

ระบบสร้างพลังงานแสงอาทิตย์ที่นำไปใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อนระบบต่าง ๆ ภายในที่อยู่อาศัย อาคาร หรือโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้แทนพลังงานไฟฟ้า เพื่อช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิลล่า

โดยทั่วไปแล้ว ระบบสร้างพลังงานแสงอาทิตย์หรือ Solar Rooftopจะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current; DC) ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternate Current; AC) จากนั้นจะเชื่อมต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยพลังงานแสงอาทิตย์จาก Solar Rooftopจะนำไปขายหรือใช้แทนไฟฟ้าก็ได้ทั้งนั้น

Solar Rooftop มีกี่ประเภท

จริง ๆ แล้ว ประเภทของ Solar Rooftopจะแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งาน ผู้ที่สนใจติดตั้งSolar Rooftop สามารถเลือกประเภทการติดตั้งที่เหมาะกับการความต้องการและความใช้งานได้ ดังนี้

1.Solar Rooftopสำหรับขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า
การติดตั้ง Solar Rooftopประเภทนี้จะติดตั้ง เพื่อผลิตพลังงานแสงอาทิตย์และส่งขายให้กับการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยต้องติดตั้งมิเตอร์แยกจากมิเตอร์ที่ใช้วัดค่าไฟฟ้าทั่วไป ทั้งนี้ ราคาของหน่วยวัดค่าไฟก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ ที่สำคัญผู้ติดตั้ง Solar Rooftopสำหรับผลิตพลังงานและขายให้กับหน่วยงานดังกล่าวจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร

2.Solar Rooftopสำหรับใช้เอง
หากคุณต้องการติดตั้ง Solar Rooftopเพื่อผลิตพลังงานไว้ใช้เองและลดค่าไฟนั้นก็ทำได้เช่นกัน โดยพลังงานแสงอาทิตย์จะช่วยทุ่นการใช้พลังงานไฟฟ้า กล่าวคือ เริ่มแรกระบบจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยขับเคลื่อนการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในที่อยู่อาศัยหรือโรงงานอุตสาหกรรม

เมื่อพลังงานแสงอาทิตย์ถูกนำมาใช้จนเกือบหมดแล้ว ระบบจะเปลี่ยนมาเชื่อมต่อและใช้พลังงานไฟฟ้าแทน ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ เพราะทำให้เราจำกัดการใช้ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ยังแบ่งประเภท Solar Rooftopตามที่ใช้งานในปัจจุบันได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

แบบ On-Grid : ใช้พลังงานจากแผงโซลาร์และการไฟฟ้าพร้อมกัน ทำให้หมดปัญหาเรื่องไฟตกหรือไฟกระชาก ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ รวมทั้งใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด

แบบ Off-Grid : ผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์ได้ต่างหาก โดยไม่ต้องอาศัยแหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากการไฟฟ้า

แบบ Hybrid : มีระบบแบตเตอรี่สำรองใช้งานเมื่อไม่มีแสงอาทิตย์หรือผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ

1. ระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบ On-Grid
ผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์แล้วแปลงกระแสไฟฟ้าตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับด้วยตัวอินเวอร์เตอร์ นิยมใช้ผลิตไฟฟ้าสำหรับนำไปขายให้กับการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จุดเด่นของระบบนี้จะใช้พลังงานจากแผงโซลาร์และการไฟฟ้าพร้อมกัน ทำให้หมดปัญหาเรื่องไฟตกหรือไฟกระชาก ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ รวมทั้งใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด

2.ระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Off-Grid
ผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์ได้ต่างหาก โดยไม่ต้องอาศัยแหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ทำให้ผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง ผู้ติดตั้ง Solar Rooftopประเภทนี้จึงต้องเลือกโหลดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะใช้ให้เหมาะสมกับแรงดัน

3.ระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Hybrid
ระบบนี้คือ Solar Rooftopที่รวมเอาการทำงานแบบ On-Grid และ Off-Grid มารวมกัน โดยจะมีระบบแบตเตอรี่สำรองใช้งานเมื่อไม่มีแสงอาทิตย์หรือผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ

Solar Rooftop

Solar Rooftopมีข้อดีอย่างไร

ปัจจุบันการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในไทยกำลังได้รับความนิยมและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยพลังงานแสงอาทิตย์นับเป็นต้นกำเนิดของการพัฒนาพลังสีเขียวอย่างยั่งยืน โดยมีข้อดีดังนี้

  1. ลดค่าใช้จ่าย Solar Rooftopช่วยผลิตพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับนำไปใช้แทนไฟฟ้าได้ ซึ่งช่วยลดการใช้ไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้มากกว่าเดิม
  2. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยส่งเสริมเรื่องพลังงานสะอาดและการนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างยั่งยืน
  3. ลดการก่อมลพิษ เมื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลง จะช่วยลดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้
  4. ลดความร้อน Solar Rooftopช่วยลดอุณหภูมิได้ประมาณ 10 องศาเซลเซียส
  5. กระตุ้นการใช้พลังงานหมุนเวียน การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
  6. สร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ชาติ การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์มีส่วนช่วยในการลดหรือชะลอการสร้างโรงงานผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล โรงไฟฟ้าน้ำ และนิวเคลียร์ อันนำไปสู่การบรรเทาและประนีประนอมประเด็นความรุนแรงในสังคม

Solar Rooftopช่วยประหยัดไฟได้เท่าไหร่

ขนาดของแผงโซลาร์ 120 X 60 เซนติเมตร จะมีพื้นที่ 0.72 ตารางเมตร และมีกำลังการผลิตแผงละ 102 วัตต์จะต้องใช้แผงทั้งสิ้นประมาณ 10 แผง ดังนั้น ทุก ๆ 1 กิโลวัตต์ของแผงโซลาร์ จะกินพื้นที่บนหลังคาเท่ากับ 7.2 ตารางเมตร

โดยทั่วไปแผงโซลาร์เซลล์จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุด คือ ช่วง 10.00-15.00 น. ซึ่งเท่ากับว่าช่วงเวลานั้นบ้านที่ติด Solar Rooftopจะได้ใช้ไฟฟรีทันทีโดยตรงผ่าน Inverter ยกตัวอย่าง วิลล่าภูเก็ต

แผงขนาด 3 กิโลวัตต์ จะผลิตไฟฟ้าได้ 4,380 หน่วย/ปี ใช้พื้นที่ติดตั้งประมาณ 20-25 ตารางเมตร ใช้ได้กับ หลอดไฟ 14 วัตต์ 10 ดวง, โทรทัศน์ LED ขนาด 42 นิ้ว 3 เครื่อง, ตู้เย็น 15 คิว 2 เครื่อง, แอร์ 12,000 BTU 2 เครื่อง ช่วยประหยัดไฟได้ถึง 945,295 บาท ใน 25 ปี

แผงขนาด 5 กิโลวัตต์ จะผลิตไฟฟ้าได้ 7,300 หน่วย/ปี ใช้พื้นที่ติดตั้งประมาณ 35-40 ตารางเมตร ใช้ได้กับ หลอดไฟ 14 วัตต์ 20 ดวง, โทรทัศน์ LED ขนาด 42 นิ้ว 5 เครื่อง, ตู้เย็น 15 คิว 3 เครื่อง, แอร์ 12,000 BTU 4 เครื่อง ช่วยประหยัดไฟได้ถึง 1,575,491 บาท ใน 25 ปี

แผงขนาด 10 กิโลวัตต์ จะผลิตไฟฟ้าได้ 14,600 หน่วย/ปี ใช้พื้นที่ติดตั้งประมาณ 70-80 ตารางเมตร ใช้ได้กับ หลอดไฟ 14 วัตต์ 40 ดวง, โทรทัศน์ LED ขนาด 42 นิ้ว 6 เครื่อง, ตู้เย็น 15 คิว 3 เครื่อง, แอร์ 12,000 BTU 6 เครื่อง ช่วยประหยัดไฟได้ถึง 3,150,982 บาท ใน 25 ปี

Solar Rooftopติดตั้งด้วยตัวเองอย่างไร

โดยทั่วไปแล้ว การติดตั้ง Solar Rooftopทำได้กับหลังคาหรือกันสาดแทบทุกแบบ เพราะการถ่ายน้ำหนักของแผงโซลาร์บนหลังคาน้อยมาก ซึ่งจะถ่ายน้ำหนักลงบนหลังคาประมาณ 10-12 กิโลกรัม/ตารางเมตร

ทั้งนี้ เจ้าของบ้านอาจคำนึงถึงปัจจัยอื่นประกอบ เพื่อปรึกษากับผู้ติดตั้งได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัสดุหลังคา ขนาด อายุการใช้งาน และน้ำหนักที่รับได้ของประเภทหลังคาหรือกันสาดแต่ละประเภทว่ารับได้เท่าไหร่

เมื่อจะเริ่มติดตั้ง Solar Rooftopลองมาทำความรู้จักอุปกรณ์ ข้อควรรู้ก่อนติดตั้ง ขั้นตอนติดตั้ง วิธีการดูแลรักษา ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

อุปกรณ์สำคัญของการติดตั้ง

– แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module)
– โครงรองรับแผง (Mounting Structure)
– ตู้ไฟฟ้า DC BOX และตู้ไฟ AC (MDB Solar to Main Owner)
– เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าแบบเชื่อมต่อระบบจำหน่าย (Grid-tie INVERTER)

ข้อควรรู้ก่อนติดตั้ง

– ควรเลือกบริเวณติดตั้งที่แสงเข้าถึงได้ ไม่ถูกเงาบัง
– ควรเลี่ยงติดตั้ง Solar Rooftopบนหลังคาที่ทำจากไม้หรือหลังคาที่ไม่มีคุณสมบัติรองรับได้
– ควรเลี่ยงติดตั้ง Solar Rooftopบนหลังคาที่มีอายุการใช้งานนาน 10 ปี
– ควรเลือกแผงโซลาร์ที่มีการรับประกันคุณภาพนาน 10 ปี
– ควรเลือกโซลาร์อินเวอร์เตอร์ที่มีประกันคุณภาพนาน 5 ปี รวมทั้งมีตัวอินเวอร์เตอร์พร้อมเปลี่ยนให้ทันที

ขั้นตอนการติดตั้ง

– จัดเตรียมอุปกรณ์และโครงสร้างสำหรับยึดแผงโซลาร์ โดยเลือกวัสดุที่ทำจากโลหะ กันสนิม รวมทั้งรับน้ำหนักและทานแรงลมได้

– ดูค่าแรงดันไฟฟ้าวงจรเปิดและค่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรของแผงโซลาร์ทุกแผงก่อนติดตั้งและยึดแผงโซลาร์บนโครงสร้าง ตกแต่งห้องนอนเล็กๆ

– ค่อย ๆ ติดตั้งแผงโซลาร์ตามรายละเอียดในคู่มือ โดยนำหัวต่อต่อเข้ากับแผงโซลาร์

– ติดตั้งตู้รวมสายไฟกระแสตรง อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ตามคำแนะนำของผู้ผลิตและคู่มือ

– นำสายไฟของแผงโซลาร์มาไว้ที่ตู้รวมสายไฟกระแสตรงทีละวงจร จากนั้นจึงนำสายไฟไปเชื่อมกับแผงโซลาร์ เพื่อเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าและระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์

– นำสายไฟที่เชื่อมไว้ตรงตู้รวมสายไฟกระแสตรงมาเชื่อมต่อกับอินเวอร์เตอร์

– นำสายไฟที่เชื่อมต่ออินเวอร์เตอร์มาที่เบรกเกอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ จากนั้นไล่ปิดวงจรระบบทีละชุดจนครบทุกเบรกกอร์

– ตรวจสอบระบบและค่าต่าง ๆ ให้เป็นไปตามคู่มือ

วิธีดูแลรักษา Solar Rooftopหลังติดตั้ง

– อ่านคู่มือการใช้งานและการทำความสะอาดแผงโซลาร์ให้ละเอียด

– หมั่นตรวจสอบแผงทำงานว่าเรียบร้อย อยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ มีตรงไหนหลุดหรือเสียหายหรือไม่

– หมั่นตัดเล็มกิ่งไม้ไม่ให้เกยบนSolar Rooftop

– ใช้ผ้าสะอาดหรือโฟมชุบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปราศจากสารเคมีกัดกร่อนโลหะ มาทำความสะอาดแผงโซลาร์บ้าง

Solar Rooftop

ก่อนติดตั้งต้องขออนุญาตกับการไฟฟ้าและการขายไฟฟ้า

การไฟฟ้านครหลวง (MEA) ส่งเสริมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้ง Solar Rooftopภายในบ้านอยู่อาศัย อาคารหรือสถานประกอบการ ในเขตพื้นที่ให้บริการ คือ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ

โดยหากต้องการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้านั้น ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องขออนุญาตเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ตามมาตรฐานของ MEA โดยจะต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ชำนาญการเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ไฟฟ้า รวมถึงป้องกันเหตุอันตรายกับเจ้าหน้าที่ MEA ที่ปฏิบัติงาน อีกทั้งไม่ให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและคุณภาพโครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า

ปัจจุบันผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเชื่อมต่อกับ MEA ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ภายในอาคาร

ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทสามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนานกับระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ MEA เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในบ้านอยู่อาศัย อาคารหรือสถานประกอบการเป็นหลัก โดยไม่ขายไฟฟ้าให้กับ MEA

โดยการยื่นแบบคำขอเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ MEA ได้ตามวันและเวลาทำการ เพื่อให้พิจารณาตามระเบียบ MEA ว่าด้วย ข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า การใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้า และการปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งประกาศใช้ ณ ปัจจุบัน ผู้ใช้ไฟฟ้าที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ทุกเขตบริการของ MEA

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ภายในอาคาร และขายส่วนที่เหลือให้ MEA

2.1 โครงการ Solar ภาคประชาชน

การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ประเภทบ้านอยู่อาศัย โดยต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศอัตราค่าไฟฟ้าของ MEA ที่ติดตั้งแผงเซลล์ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา

โดยติดตั้งเพื่อใช้เองเป็นหลักและขาย ส่วนที่เหลือให้กับ MEA ในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 2.20 บาท/หน่วย มีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี

2.2 โครงการ Solar กลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา โรงพยาบาล

การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับกลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา โรงพยาบาล และสูบน้ำเพื่อการเกษตร (โครงการนำร่อง) พ.ศ. 2564 ที่ติดตั้งแผงเซลล์ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา แต่งบ้านด้วยไม้

โดยติดตั้งเพื่อใช้เองเป็นหลักและขายส่วนที่เหลือให้กับ MEA ในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 1 บาท/หน่วย มีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี ผู้ใช่ไฟฟ้าที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านทางเว็บไซต์