โอนย้ายมิเตอร์ไฟฟ้า 3 ขั้นตอน เรื่องต้องรู้หลังย้ายเข้าบ้านใหม่

โอนย้ายมิเตอร์ไฟฟ้า

โอนย้ายมิเตอร์ไฟฟ้า หลังจากการซื้อบ้านหลังใหม่ ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์บ้านให้เป็นของตนเองเรียบร้อย และเตรียมตัวย้ายเข้าบ้านใหม่ ยังมีอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญที่เจ้าของบ้านไม่ควรลืมเด็ดขาด นั่นคือการโอนมิเตอร์ไฟฟ้าให้เป็นชื่อของผู้ซื้อบ้าน วิลล่าภูเก็ต

โดยสาธารณูปโภคหลักอย่างกระแสไฟฟ้าภายในบ้านเป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านต้องให้ความใส่ใจ เพื่อให้การอยู่อาศัยเป็นไปอย่างราบรื่นและสะดวกสบาย ซึ่งขั้นตอนการขอโอนมิเตอร์ไฟฟ้าก็ไม่ใช่เรื่องยาก และเป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านสามารถดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

โอนย้ายมิเตอร์ไฟฟ้า

ขั้นตอนการ โอนย้ายมิเตอร์ไฟฟ้า ด้วยตนเอง

หลังจากย้ายบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้ซื้อต้องติดต่อขอโอนมิเตอร์ไฟฟ้าด้วยตนเองได้ที่การไฟฟ้านครหลวง โดยเวลาเปิดทำการตั้งแต่ 7.30 น. ไปจนถึงเวลา 15.00 น. ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดราชการ ซึ่งขั้นตอนการโอนมิเตอร์ไฟฟ้ามีเพียง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ที่ใช้เวลาไม่มาก คือ

  1. การยื่นเอกสารตามที่การไฟฟ้านครหลวงกำหนดไว้ให้กับเจ้าหน้าที่
  2. รอเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เรียบร้อย ซึ่งขั้นตอนที่ 2 จะใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน
  3. เมื่อดำเนินการเรื่องสำเร็จ เจ้าหน้าที่จะโทรแจ้งเพื่อให้ผู้ที่ติดต่อเรื่องไปรับเอกสารระบุการเปลี่ยนชื่อเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้า ไอเดียแต่งบ้าน ให้ขายบ้านง่าย

รูปแบบการขอโอนมิเตอร์ไฟฟ้า

1.การขอโอนมิเตอร์ไฟฟ้าเมื่อเจ้าของบ้านซื้อบ้านใหม่กับโครงการ

โดยส่วนใหญ่เมื่อเป็นการซื้อขายที่อยู่อาศัยใหม่กับโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ เจ้าของบ้านใหม่มักจะไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ด้วยตนเอง เนื่องจากเจ้าของโครงการอสังหาฯ จะดำเนินการโอนมิเตอร์ไฟฟ้าให้เรียบร้อยอยู่แล้ว เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริการที่จะมอบให้กับลูกบ้าน

2.การขอโอนมิเตอร์ไฟฟ้าเมื่อเจ้าของบ้านซื้อบ้านมือสอง

เจ้าของบ้านจะต้องเดินทางไปยังการไฟฟ้านครหลวงด้วยตนเอง เพื่อติดต่อยื่นคำขอโอนมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งเอกสารโอนมิเตอร์ไฟฟ้าที่ต้องใช้ยื่นทำเรื่องมีจำนวนค่อนข้างมาก และยังแบ่งได้ออกเป็น 2 แบบ คือ

แบบที่ 1 ผู้รับและผู้โอนสามารถไปยื่นเรื่องที่การไฟฟ้าด้วยตนเองได้ มีเอกสารที่ต้องนำไปด้วย ดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับและผู้โอน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับและผู้โอน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟฟ้าของผู้รับ
  • สำเนาสัญญาซื้อขายบ้าน ทด13. (กรณีที่มีการซื้อขายบ้าน)
  • ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้ายของผู้โอน
  • หลักฐานอื่น ๆ ที่จำเป็น (เช่น ใบเปลี่ยนชื่อหรือใบเปลี่ยนนามสกุล)
  • ใบเสร็จรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าของผู้โอน (กรณีใบเสร็จสูญหายให้ติดต่อแผนกการเงิน)
  • ในกรณีที่ผู้โอนไม่สามารถมาด้วย ผู้รับจะต้องนำเอกสารเพิ่มเติมมาอีก 1 อย่าง คือ ใบหนังสือมอบอำนาจจากผู้โอน
  • อย่าลืมด้วยว่า เอกสารทั้งหมดจำเป็นต้องถ่ายสำเนามาด้วยอย่างละ 2 ชุด

แบบที่ 2 เจ้าของบ้านไม่สามารถติดต่อผู้ที่มีอำนาจในการขอโอนมิเตอร์ไฟฟ้าได้ จะมีเอกสารที่ต้องใช้ต่างออกไปจากแบบแรก คือ

  • สำเนาบัตรประชาชนผู้รับโอน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟของผู้รับโอน
  • สำเนาใบมรณบัตรกรณีผู้ใช้ไฟเดิมถึงแก่ความตาย วิลล่า
  • ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้ายของผู้รับโอน
  • ใบเสร็จรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าของผู้รับโอน
  • หลักฐานอื่น ๆ ที่จำเป็น (เช่น ใบเปลี่ยนชื่อหรือใบเปลี่ยนนามสกุล)
  • เช่นเดียวกันกับแบบแรก เอกสารทั้งหมดจำเป็นต้องถ่ายสำเนามาด้วยอย่างละ 2 ชุด
โอนย้ายมิเตอร์ไฟฟ้า

การแก้ปัญหาปริมาณแอมป์ไฟฟ้าไม่เพียงพอ

เรื่องเกี่ยวกับการโอนมิเตอร์ไฟฟ้ายังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะยังมีปัญหาใหญ่ที่หลายคนอาจต้องพบเจอ และอาจจะไม่ทราบวิธีแก้ไข นั่นคือปัญหาแอมป์ไฟฟ้าภายในบ้านไม่เพียงพอ (แอมป์ไฟฟ้า คือหน่วยบอกปริมาณกระแสไฟฟ้าที่บ้านสามารถใช้ได้)

ในกรณีที่เจ้าของบ้านรับโอนมิเตอร์ไฟฟ้าเรียบร้อย และพบว่า ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่มีอยู่อาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้งานของคนในบ้าน

ไม่ว่าเนื่องด้วยสมาชิกครอบครัวที่มีจำนวนเยอะ หรือการทำงานที่อาจจะต้องใช้ปริมาณกระแสไฟฟ้าสูง ๆ อยู่บ่อย ๆ จนทำให้แอมป์ไฟฟ้าไม่พอ เจ้าของบ้านสามารถติดต่อขอปริมาณกระแสไฟฟ้าเพิ่มได้ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการขอกระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น

โดยสามารถโทรสอบถามข้อมูลเบื้องต้น ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งขอคำปรึกษาเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบแอมป์ไฟฟ้าที่บ้านได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 1130 ตลอด 24 ชั่วโมง

มิเตอร์ไฟฟ้ามีด้วยกันหลายขนาด โดยสามารถสังเกตได้จากตัวเลขในช่องบนมิเตอร์ เช่น 5(15) A หมายความว่า เป็นมิเตอร์ไฟขนาด 5 แอมป์ สามารถใช้ไฟได้มากถึง 15 แอมป์ ขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้า มีดังนี้

  • ขนาดมิเตอร์ 5(15) เฟส 1 ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 10 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 15(45) เฟส 1 ใช้ไฟฟ้า 11-30 แอมแปร
  • ขนาดมิเตอร์ 30(100) เฟส 1 ใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 50(150) เฟส 1 ใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 15(45) เฟส 3 ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 30 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 30(100) เฟส 3 ใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 50(150) เฟส 3 ใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 200 เฟส 3 ใช้ไฟฟ้า 101-200 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 400 เฟส 3 ใช้ไฟฟ้า 201-400 แอมแปร์

แม้ว่าการโอนมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นขั้นตอนสำคัญที่ผู้ซื้อบ้านใหม่จะต้องเรียนรู้ไว้ แต่หากเป็นกรณีที่เจ้าของบ้านสร้างบ้านด้วยตนเอง ไม่ได้ผ่านการซื้อจากโครงการหรือบ้านมือสองแต่อย่างใด ก็จำเป็นที่จะต้องขอรับการบริการและขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าใหม่ ซึ่งมีวิธีการแตกต่างจากการขอโอนมิเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป

โดยสามารถอ่านขั้นตอนการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า เพื่อให้การเข้าอยู่อาศัยเป็นไปอย่างสะดวกสบายและกลายเป็นบ้านที่สามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่จริง ๆ รีโนเวทบ้านไม้ 5 จุดที่ต้องตรวจเช็ก