แบบบ้านโมเดิร์น 2 ชั้น
แบบบ้านโมเดิร์น 2 ชั้น การออกแบบในรูปแบบใหม่ๆ สำหรับยุคนั้น หลักการของความสวยงามตามรูปแบบโมเดิร์น
แบบบ้านโมเดิร์น 2 ชั้น การออกแบบในรูปแบบใหม่ๆ สำหรับยุคนั้น หลักการของความสวยงามตามรูปแบบโมเดิร์น คือ รูปทรงที่สามารถตอบสนองประโยชน์ใช้สอยได้สูงสุด บ้านโมเดิร์น มีลักษณะเด่นในการใช้รูปทรงเรขาคณิต เช่น สี่เหลี่ยมหรือเส้นโค้งที่เกิดจากส่วนของวงกลม สำหรับแนวคิดหลักของการออกแบบโมเดิร์นเป็นการเลือกใช้รูปทรง
โครงสร้างและวัสดุที่สามารถตอบสนองการใช้งานได้ดี หรืออีกนัยหนึ่งคือรูปทรงของอาคารถูกกำหนดจากลักษณะการใช้งาน ไม่มีการประดับตกแต่งส่วนเกิน เคารพในธรรมชาติของวัสดุและโครงสร้าง เช่น การโชว์เสา คาน หรือส่วนของโครงสร้างอาคารอย่างไม่มีปิดปัง ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก คอนกรีต กระจก หรือไม้
โดยถือว่าเป็นความงามชนิดหนึ่ง หลักการสำคัญของการออกแบบบ้านโมเดิร์นอีกประการหนึ่ง คือ ความสะดวกสบายในการอยู่อาศัย ไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง เช่น การออกแบบบ้านไม่มีชายคายื่นจากตัวบ้านโดยเข้าใจผิดว่าเป็นลักษณะของบ้านรูป แบบบ้าน 3 ห้องนอน แบบโมเดิร์นแต่มีปัญหาน้ำฝนสาดหรือรั่วเข้ามาทางประตูและหน้าต่าง ดังนั้นหลักของการออกแบบบ้านโมเดิร์น คือ การเคารพในรูปร่างธรรมชาติของวัสดุ ไม่มีการตกแต่งปิดปังให้สิ้นเปลืองและจะต้องอยู่อาศัยอย่างสะดวกสบาย
แบบบ้านโมเดิร์น 2 ชั้น
สิ่งที่ต้องคำนึงถึง แน่นอนว่า บ้านสไตล์โมเดิร์น เป็นบ้านที่หลายคนใฝ่ฝันและชื่นชอบอย่างมาก แถมยังมีการออกแบบเรียบง่ายไม่ยุ่งยาก หากมีการนำมาสร้างที่ประเทศไทย สถาปนิกจึงมีการนำมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสภาพอากาศ
และความเป็นอยู่ของคนไทย โดยมีการยกหลังคาให้สูง เพื่อป้องกันความร้อน ออกแบบปีกกันน้ำฝน เป็นต้น หากใครกำลังต้องการปลูกบ้านสไตล์โมเดิร์น หรือ ศึกษาหาข้อมูล วันนี้พี่เข้มาพร้อมกับ ข้อดีของบ้านสไตล์โมเดิร์น เพื่อเป็นแนวทาง แต่ก่อนอื่นจะต้องบอกก่อนเลยว่ารูปแบบบ้านสไตล์โมเดิร์นมีการออกแบบมาเพื่อชาวตะวันตก หากมีการนำมาปลูกสร้างแน่นอนว่าจะต้องพบเจอกับปัญหาบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างแน่นอน
แบบที่ 1 บ้านโมเดิร์นสีไม้ ทรงกล่องบนพื้นที่เนิน
การสร้าง บ้านสวย ๆ สักหลังนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่การออกแบบบ้านที่ไม่เหมือนที่อื่น บ้านที่เต็มไปด้วยตัวละครที่บอกเล่าเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่คั่นด้วยรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยตกหลุม นั่นเป็นความท้าทายที่สถาปนิกพบว่าน่าตื่นเต้น น่าสนใจ และคุ้มค่า
สำหรับบ้านนี้จะให้ความสำคัญกับพื้นที่ความสงบ ความกลมกลืน และธรรมชาติ แม้จะดูค่อนข้างใหญ่ แต่เลือกใช้วัสดุและสีเทียบเคียงกับธรรมชาติ ให้บ้านเป็นพื้นที่ช่วยปลอบประโลมใจและสร้างความผ่อนคลาย
บ้านหลังนี้มีทัศนียภาพที่สวยงามของทะเลสาบ Minnetonka รัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา เริ่มออกแบบโดยการรวบรวมคำถามถึงเจ้าของบ้านว่า คุณมาจากไหน บ้านแบบไหนที่คุณเคยอาศัยอยู่ ทำไมคุณถึงเลือกสถานที่นี้ และทุกคนในครอบครัวอยากใช้ชีวิตอย่างไร เพื่อทำความเข้าใจบริบทของบ้าน
รวมทั้งรายละเอียดของเงื่อนไขที่มีอยู่ของไซต์ และวิเคราะห์ข้อดี ข้อจำกัดของที่ดิน เมื่อเห็นว่าที่ดินมีลักษณะเป็นสโลปไหลลงมาพื้นที่สูงชัน จึงออกแบบบ้านตามระดับความสูงเป็นทรงกล่องที่มีหลายระดับ ทำให้เกิดพื้นที่และระเบียงยื่นออกมาหลายชั้นให้สอดคล้องกับการอยู่อาศัย
ด้วยบริบทแวดล้อมที่ยังคงมีต้นไม้และใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ ภาพรวมสถาปัตยกรรมจึงต้องการความรู้สึกนอบน้อม กลมกล่อม ไม่ขัดแย้งหรือโดดออกมาจากธรรมชาติ จึงหยิบจับองค์ประกอบของหินและไม้เข้าด้วยกัน และเลือกใช้สีเทา น้ำตาล เบจ ที่ใกล้เคียงกับโทนสีของดิน สร้าง Mood&Tone ได้ตรงโจทย์ที่ต้องการ
PKA เชื่อว่าวัสดุต่างๆ ก็เหมือนกับผู้คน มีเรื่องราวของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ใช้สอย มุมมองทางศิลปะ หรือทั้งสองอย่าง การตกแต่งภายในใช้วัสดุ พื้นผิว และรูปแบบ เพื่อสร้างสไตล์ที่สื่อถึงเจ้าของบ้านโดยตรง
ยังคงเน้นไปที่การใช้วัสดุลายไม้เป็นหลักทั้งพื้นบ้านและเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน บนผืนผนังสีขาวผสมผสานทั้งความอบอุ่นและความทันสมัย ใส่สีสันให้บ้านมีความเคลื่อนไหวของมิติทางสายตา ผนังบางจุดสร้างจุดโฟกัสสายตาด้วยแผ่นหินที่ต่างชนิด ในขนาดต่างๆ กันนำมาเรียงบนผนังทั้งภายนอกภายในเชื่อมต่อกันอย่างสวยงาม
ในขณะที่ภาพรวมสัมผัสได้ถึงความทันสมัย ยังมีส่วนผสมของยุคสมัยเก่าเล็ก ๆ ผ่าน พรมผืนใหญ่ลวดลายสวย เก้าอี้โซฟาผ้าแบบดึงกระดุมสีแดงสด และโต๊ะ เก้าอี้ ของตกแต่งบ้านบางอย่าง ที่เป็นของใช้ที่เคยนิยมเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว และแน่นอนว่าในขณะ ที่ให้ความสำคัญกับการตกแต่ง สถาปนิกก็ไม่ทิ้งเรื่องพื้นที่ ใช้งานที่ใส่ใจในความลื่นไหล ความโปร่งสบาย ด้วยแปลนแบบ open plan ในพื้นที่ส่วนกลาง และการวางตำแหน่งช่องแสงที่เติมความสว่างไสวให้บ้านในช่วงกลางวัน บ้าน 2 ชั้น
แบบที่ 2 บ้านโมเดิร์นกับซุ้มศาลานั่งเล่น ความโปร่งใสที่เข้ากัน
ซุ้มนั่งเล่นโมเดิร์นไม่มีสิ่งไหนที่จะให้ความสดชื่นกับบ้านได้เท่าพื้นที่ นั่งเล่นพักผ่อนสบาย ๆ กลางแจ้ง คำพูดนี้ดูจะเป็นจริงเมื่อได้เห็นบ้านหลังนี้ ที่มีชื่อว่า Coogee Residence ซึ่งตั้งอยู่ในย่านชานเมืองด้านตะวันออกของซิดนีย์
ออกแบบโดย Tanner Kibble Denton สถาปนิกนำเสนอการออกแบบ ที่ไม่ได้โฟกัสที่ภายในอาคารเท่านั้น แต่ใส่ใจการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างให้มากที่สุด และขยายพื้นที่ที่อาศัยออกมาสู่สนามหลัง บ้านให้มีความสอดสัมพันธ์กับตัวบ้านอย่างลื่นไหล โดยทำซุ้มนั่งเล่นมุงหลังคาด้วยวัสดุโปร่งใส เชื้อเชิญให้คนออกมานั่งรับลมรับวิวนอกตัวบ้านกันมากขึ้น
บ้านสองชั้นสไตล์โมเดิร์น โครงสร้างเฉียบคมตามรูปแบบบ้านยุคใหม่ ผนังติดกระจกใสช่วยเบลอ ขอบเขตระหว่างตัวบานกับพื้นที่กลางแจ้ง ประตูที่เปิดออกได้เกือบเต็มพื้นที่ผนังเปิดรับ และระบายอากาศได้มาก ภายในจึงเย็นสบาย บริเวณรอบบ้านจุดภูมิทัศน์สวยงาม ปูพื้นรอบบ้านช่วยลดเส้นสายแข็งแรง ๆ ของบ้านให้ดูนุ่มนวลและสดชื่นขึ้น
ด้านข้างของตัวบ้านโดดเด่น สะดุดตาด้วยซุ้มกระจกใส ที่ต่อเนื่องมาจากห้องนั่งเล่นในบ้าน โครงสร้างเหล็กที่แข็งแรงถูกลดความหนักแน่น ลงด้วยการทาสีขาว ด้านบนที่คลุมด้วยกระจกช่วย ให้มองเห็นบริเวณบ้านได้ในขณะที่นั่งรับประทานอาหารและพักผ่อนนอก
ซุ้มกลางแจ้งที่รูปลักษณ์ ทันสมัยนี้สร้างสุนทรียภาพ ให้บ้านมีชีวิตชีวามากกว่า การมีแต่ตัวอาคาร เพราะสามารถเปลี่ยนพื้นที่กลางแจ้งให้เป็นพื้นที่ใช้สอย ที่เต็มเปี่ยมแบบไม่ต้องกลัวแดดและฝน ช่วยดึงดูดให้สมาชิกอยากจะออกจากบ้านมาใช้เวลาข้างนอกทำกิจกรรมรูปแบบอื่น ๆ มากขึ้น
แม้ภายนอกจะดูเรียบหรูแบบโมเดิร์น แต่เมื่อเข้าสู่ภายในตัวบ้าน จะสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น ที่กระจายอยู่ทั่วบ้าน ผ่านวัสดุหลักที่ใช้ตกแต่งคือไม้สีน้ำตาลเข้ม ในขณะเดียวกันเพดาน ที่สูงสองเท่าจากระดับเพดานทั่วไปแบบ double volume ยิ่งช่วยเพิ่มความโปร่งสบายเติมความโอ่โถงให้บ้าน ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถใช้พื้นที่ ว่างที่เหลือทำเป็นชั้นลอยใช้ประโยชน์ได้อีก
แบบที่ 3 บ้านโมเดิร์นตกแต่งไม้และกระจก
การจะสร้างส่วนต่อเติมจึงไม่ใช่อะไรก็ได้ แต่ต้องออกแบบเพื่อให้สอดคล้อง กับสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของทิ้งถิ่น ส่วนเพิ่มเติมจึงถูกซ่อนไว้อย่างถ่อมตัว หลังส่วนหน้าอาคารไม่ให้เด่นขึ้นมาเกินของเดิม แต่เมื่อเดินเข้ามาภายในจะรับรู้ถึงความสวยงามโดดเด่นที่ต่างจากของเดิมอย่างสิ้นเชิง
Doyle House แม้จะดูโดดเด่นสวยงามกับกรอบ บ้านไม้ขนาดใหญ่บนชั้นสอง แต่เนื่องจากเป็นส่วนขยายจากด้านหน้าที่ไม่ต้องการให้ความใหม่กลบสิ่งเดิม ด้านหลังจะมีความสูงพอดีกับโซนบ้านเก่าทำให้มองไม่เห็นจากด้านหน้า
เพื่อยังคงรักษาและแสดงความ เคารพต่อมรดกของบ้านดั้งเดิม ที่สร้างจากอิฐแดงเอาไว้เป็นเสน่ห์ให้คิดถึง แล้วปรับปรุงบางส่วน และเพิ่มเติมส่วนใช้สอย ด้านหลังติดกับสนามหญ้า ใส่ซึ่งเชื่อมโยงการตกแต่งภายในของบ้านกับพื้นที่กลางแจ้งเข้าด้วยกันอย่างลงตัว คืนองค์ประกอบของวิลล่าดั้งเดิมในขณะ ที่ซ้อนทับการตกแต่งที่ทันสมัย
บ้านเก่าที่ยังสภาพดีอยู่มีข้อด้อยที่การรับแสง และการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่มีอุปสรรค การนำแสงธรรมชาติมาสู่ทั้งส่วนที่เพิ่มเข้ามาใหม่จึงเป็นหัวใจหลักของการปรับปรุง ซึ่งสถาปนิกใส่แนวคิดเข้าไปผ่านทางช่องเปิดขนาดใหญ่และกระจก ที่ทำหน้าที่ช่วยเบลอขอบเขตระหว่างภายในภายนอก และเปิดให้มองเห็นวิวได้ รวมถึงมีการระบายอากาศที่เพิ่มขึ้น เป็นการขจัดอุปสรรคเรื่องแสงและพื้นที่ได้อย่างตรงไปตรงมา
เราจะเห็นส่วนของกำแพง อิฐเดิมติดกับส่วนนั่งเล่นและทานอาหาร ที่ยังคงเป็นลักษณะภายในระหว่างสองอาคาร และส่วนใหม่ที่ใช้อิฐเหมือนกัน เพื่อเตือนถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของบ้าน Glasshouse คืนองค์ประกอบของวิลล่าดั้งเดิม ในขณะที่ซ้อนทับการตกแต่งที่ทันสมัยวัสดุ และโทนสีที่มีร่วมกัน เงยหน้าขึ้นไปจะโดยมีหลังคาใสๆ เป็นช่องแสงที่นำความสว่างเข้าสู่อาคาร พร้อมกันก็เป็นจุดเชื่อมต่อ การแสดงความเปลี่ยนแปลงระหว่างอาคารเก่าและใหม่ที่ใช้ประโยชน์ได้ไปในตัว
การเปิดด้านหลังออกสู่สนามหญ้า ผ่านประตูบานเลื่อนกระจกขนาดใหญ่ ที่ทำให้บ้านดูเหมือนบ้านไม่มีผนัง เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่าง องค์ประกอบโครงสร้างในไซต์ และภูมิทัศน์โดยรอบ ดึงผู้อยู่อาศัยมารวมกันและช่วยให้ไหลออกสู่สวนได้สะดวก ภายในผสมผสานพื้นที่ใช้สอย รวมครัว ห้องนั่งเล่นโถงสูง ห้องทานข้าว เข้าด้วยกันแบบ open plan ช่วยเติมความรู้สึกโอ่โถงและไหลลื่นเข้ามาในบ้านมากขึ้น
ห้องทำงานชั้นบนที่มีผนังติด กับโถงสูงห้องนั่งเล่น ติดกระจกอลูมิเนียมเป็นช่องตาราง รับกับมุมมองของพื้นที่ข้างล่างและมีอีกด้านที่เปิดสู่สวน ทำให้ตัวห้องมีความสงบแต่สามารถรับรู้ ความเคลื่อนไหวในบ้าน และนอกบ้านได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องก้าวออกไปจากห้อง
ในบ้านที่มีสองชั้นมักประสบปัญหา การเชื่อมต่อทางสายตาระหว่างชั้นบนกับชั้นล่าง เพราะการเทพื้นเพดานปิดทึบ มีเพียงช่องว่างตรงโถงบันได เป็นหนึ่งอุปสรรคที่ทำมห้เหมือนถูกตัดขาดออกจากกัน บ้านสองชั้น (ขึ้นไป) ยุคใหม่ๆ จึงนิยมเจาะเพดานส่วนหนึ่ง ของบ้านสร้างเป็นห้องเพดานสูง
วิธีนี้อาจจะทำให้ดูเหมือนว่าพื้นที่บ้านถูกลดลงเพื่อใช้พื้นที่ บางส่วนให้เป็นที่ว่างเชื่อมต่อในแนวตั้ง แต่ก็มีประโยชน์ที่ได้ตามมาคุ้มค่า เช่น การไหลเวียนของอากาศภายในที่ดีขึ้น การรับรู้ถึงความเคลื่อนไหวของธรรมชาติภายนอกผ่านช่องแสง ช่องเปิดรอบๆ ในมุมสูง และยังมีปฏิสัมพันธ์กับห้องที่แยก เป็นส่วนตัวข้างบนได้ง่าย